top of page
  • Writer's picturePipat Wittayapanyanon

5 กฎสำคัญ เลี่ยงลูกทะเลาะกัน

Updated: May 1, 2019

ในยุคนี้ เด็กๆ อาจไม่รู้ว่า โอกาสในการเกิดนั้นน้อยลงเรื่อยๆ พ่อแม่ หลายคู่ เลือกที่จะมีลูกคนเดียว แต่พอตั้งใจ ตั้งท้อง เพื่อให้ลูกได้โตขึ้นมา มีพี่ มีน้อง เสมือนเพื่อน คอยดูแลกันและกัน เวลาที่หากพ่อแม่เป็นอะไรไป จะได้ช่วยเหลือกัน แต่พอมีมากกว่า 1 คน ดันมาทะเลาะกันเอง แบบนี้ คนที่เสียใจที่สุดคือ "พ่อกับแม่" นะครับ..



เมื่อลูกก้าวเข้าสู่ช่วงวัยที่เริ่มเล่นเองได้มีความคิดเป็นของตนเองด้วยแล้ว ก็ยิ่งเกิดสถานการณ์ความขัดแย้งได้ง่าย  โดยเฉพาะลูกที่อยู่ในช่วงวัยใกล้เคียงกัน ช่วง 1 -3 ขวบ  อย่างไรก็ตามช่วงวัยนี้ก็เป็นช่วงวัยสำคัญที่คุณพ่อคุณแม่สามารถปลูกฝังแนวความคิดและการปฏิบัติตัวต่อคนรอบข้างที่ถูกต้องเหมาะสมให้กับเขาได้  ก่อนที่เกิดพฤติกรรมร้ายที่จะติดตัวไปนิสัยไปจนโตค่ะ

กติกาที่คุณพ่อคุณแม่สามารถสร้างขึ้น  เพื่อป้องกันการทะเลาะกันของลูก  มีดังนี้



พี่น้องต้องรักกัน

คุณพ่อคุณแม่ต้องปลูกฝังเรื่องนี้อย่างหนักแน่น

– พูดกับลูกบ่อยๆ ให้เข้าหู

– ทำให้ดูให้เข้าใจ  คือตัวคุณพ่อคุณแม่เองก็ต้องแสดงความรัก  ความเอื้ออาทรต่อญาติพี่น้องให้ลูกเห็นด้วยเช่นกัน

– พูดเชิงทั้งต่อหน้าและลับหลังลูก  เช่น  เมื่อลูกอยู่ด้วยกันก็พูดชม “ดูสิ  พี่เขารักน้องนะ เขาแบ่งขนมไว้ให้น้องด้วยนะ”  หรือพูดชมลูกๆ ให้คนอื่นฟังต่อหน้าลูก “เขารักกันนะเนี่ย  เล่นด้วยกันก็ไม่ทะเลาะกันเลย น่ารักมาก”

กรณีนี้ อาจต้องศึกษาการพูดถึงคนอื่นไว้ด้วย จะไปเข้าข่ายแบบ

จากละครเรื่องวัยแสบสาแหรกขาด โครงการ 2

เรื่อง i message, u message, they message

เวลาต้องพูดถึงบุคคลอื่นๆ อาจส่งผลไม่ดีต่อลูก ได้นะครับ


ทะเลาะกันเมื่อไหร่ โดนทั้งคู่

ไม่ได้หมายความว่าคุณพ่อคุณแม่ไม้ต้องตรวจสอบนะคะว่าใครผิดใครถูก  ต้องสอบสวนความจริงเพื่อให้รู้ต้นสายปลายเหตุจะได้ชี้แจงสั่งสอนลูกได้ตรงประเด็นว่าอะไรควรทำไม่ควรทำ  แต่บอกลูกให้รู้ไว้เลยว่าเมื่อใดก็ตามที่ลูกทะเลาะกัน  ใครถูกใครผิดไม่รู้ต้องได้รับโทษร่วมกัน  เช่น  งดเล่นของเล่น  งดดูการ์ตูน  งดกินไอติม  เป็นต้น  ลูกจะได้พยายามไม่ทะเลาะกัน  รู้จักประนีประนอมและแก้ปัญหาในทางสันติ

เวลาทะเลาะกันต้องไม่พูดคำหยาบ

เมื่อลูกทะเลาะกัน  (ซึ่งห้ามไม่ให้เกิดยาก)  คุณพ่อคุณแม่ควรจะสร้างกติกาที่ช่วยป้องกันความรุนแรงและบานปลายไว้ก่อน  การสร้างพูดคำหยาบหรือพูดจารุนแรง  เป็นชนวนอย่างดีที่พาไปสู่การผิดใจกันในระยะยาว

ห้ามทำร้ายกัน


ข้อนี้เป็นเรื่องสำคัญอย่างมาก  เพราะนอกจากจะป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นต่อกันแล้ว  ยังเป็นการบ่มเพาะนิสัยในการควบคุมอารมณ์และป้องกันนิสัยก้าวร้าวที่ลูกอาจจะติดต่อเอาไปใช้กับคนอื่นๆ นอกบ้านอีกด้วย

พ่อแม่ใส่ใจและดูลูกเท่ากันอย่างสม่ำเสมอ

การสร้างกติกาอาจจะเพียงกับลูกๆ เท่านั้น  คุณพ่อคุณแม่เองก็ต้องมีกติกากับตัวเองว่า  ต้องดูแลอาใจใส่  พูดคุย  เล่นกับลูกๆ อย่างสม่ำเสมอและเท่าเทียมกัน  เพราะการทะเลาะเบาะแว้งกันส่วนใหญ่  มักจะเกิดจากปัญหาที่สะสมตกค้างเรื่องเดิมๆ  เช่น  อิจฉากัน   ต้องการความรักความอบอุ่น  ต้องการเรียกร้องความสนใจ  ดังนั้นหากคุณพ่อคุณแม่ให้ลูกได้เต็มที่เท่าเทียมกัน  ก็จะไม่มีใครขาดและเรียกร้องด้วยวิธีการเชิงลบครับ


ขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก http://www.healthandtrend.com

และเพิ่มเติมจากละคร วัยแสบสาแหรกขาด โครงการ2

เรียบเรียง โดยพี่อาร์ม พิพัฒน์

2 views0 comments
bottom of page