เล่นเสียงกับลูก เพื่อตอบสนองต่อพัฒนาการ ……………… แต่การจะเล่นเสียงแบบไหนให้เหมาะกับวัยกันนะ?!?
ยิ่งคุณพ่อคุณแม่เอาใจใส่ดูแลและเล่นเลียนเสียงกับลูกบ่อยๆ ก็จะยิ่งทำให้ลูกพัฒนาทักษะการสื่อสารได้ดีเท่านั้น โดยคุณพ่อคุณแม่สามารถทำได้ตั้งแต่ตอนแรกเกิดถึง 3 เดือนและถึงแม้ว่าลูกจะยังไม่สามารถสื่อสารได้ แต่ก็สามารถรับรู้ว่ามีคนคอยตอบสนองต่อเขาอยู่
หากสังเกตว่า…
ลูกอายุ 4-6 เดือน สามารถเป่าลมได้แล้ว คราวนี้คุณพ่อคุณแม่ต้องทำเสียงเป่าลม รวบปาก หรือทำปากให้ลูกเห็นด้วย และใช้คำง่ายๆ หรือเล่นน้ำลายกับลูกก็ได้นะครับ 🤦🏻♂️🤦🏻♂️🤦🏻♂️
5555 แต่ที่สำคัญก็คือ ไม่ควรพูดเร็วๆ กับลูกครับ
พออายุย่างเข้า 7-10 เดือน คุณพ่อคุณแม่ควรสอนคำศัพท์ง่ายๆ ให้ลูกเล่น เช่น ปะป๋า มะม๊า ฝึกให้ลูกขยับปากขยับลิ้นเคลื่อนไหวต่างๆ เพื่อให้เขามีพัฒนาการที่ดี (ช่วงนี้ที่ปู่กะย่าจะเริ่มอยากฟังหลานเรียกชื่อ)
และเมื่อถึงช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อในวัย 10-12 เดือน คุณพ่อคุณแม่ต้องใส่ใจกับลูกให้มากยิ่งขึ้นค่ะ เพราะลูกสามารถพูดได้แล้ว และความสนใจก็จดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เพราะฉะนั้นคุณพ่อคุณแม่จะต้องสอนลูกอย่างใกล้ชิด ให้ลูกได้ใช้ประสาทสัมผัสให้ครอบทุกส่วน ไม่ว่าจะเป็นปากให้พูดตามคุณแม่ ตาให้ดูเวลาที่คุณแม่พูด หูให้ฟังเสียงของคุณแม่ และมือให้ชี้หรือทำท่าทางประกอบ
แม้ว่าลูกจะยังพูดไม่เป็นภาษา หรือว่าพูดไม่รู้เรื่อง แต่ถ้าคุณพ่อคุณแม่เล่นกับลูกบ่อยๆ พูดคุยบ่อยๆ ก็จะทำให้ลูกอารมณ์ดีและเกิดการตอบสนองที่ดี ส่งผลให้ลูกมีพัฒนาการทางภาษาที่ดีด้วยครับ
เรียบเรียงจากบทสัมภาษณ์ อาจารย์เนตรา บัวกนก นักแก้ไขความผิดปกติของการสื่อความหมาย (แก้ไขการพูด) คลินิกฝึกพูดสาขาโรคกล่องเสียง หลอดลม และคอ ภาควิชา โสต นาสิก ลาริ้นซ์ วิทยา คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล และ บทความบางส่วนจาก รักลูกดอทคอม
Kommentarer